วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 13

17 เมษายน 2561


          วันนี้เป็นวันที่เปิดทำการเรียนการสอนวันแรก หลังจากที่หยุดยาวสงกรานต์ วันนี้อาจารย์ก็ทำการสอนตามปกติ วันนี้เราเรียนเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 


อาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 

          อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิต ทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรก และใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่า เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้


หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆอาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่นอาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใยอาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น 

หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
          ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปีถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและการมีพัฒนาการในทุกๆด้านของชีวิตเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็วทางเด็กได้รับการเลี้ยงดูได้รับอาหารอย่างเพียงพอก็จะทำให้เด็กเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อาหารสำหรับเด็กทารก (แรกเกิด - 1 ปี)
ในระยะแรกเกิดจนถึง 4 เดือนให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวการเริ่มฝึกให้อาหารเด็กตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปแบ่งได้เป็น 6 ระยะดังนี้

อายุ 4 เดือน ระยะเริ่มแรกให้อาหารเสริมนอกจากนมแม่แล้วให้เข้าบดผสมกับน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่ายผสมไข่แดงต้มสุกประมาณ 1 ใน 4 ฟองบนน้ำแกงจืดที่ใส่ผักต่างๆให้สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกงอม

อายุ 5 เดือน เด็กยังกินนมแม่แต่ควรเพิ่มโปรตีนจากเนื้อปลาบดละเอียดผสมน้ำแกงจืดจากผัก ควรใส่ผักในข้าวสลับกับฟักทองมะเขือเทศหรือแครอทสลับกับการใส่ไข่แดงต้มสุกบดให้ละเอียด 1 ฟอง

อายุ 6 เดือน กินนมแม่ให้อาหารแทนนม 1 มื้อโดยเริ่มกินไข่ต้ม ใส่น้ำแกงจืดผสมผัดตับบดและผลไม้สุกบดละเอียดตามฤดูกาล

อายุ 7 เดือน ยังกินนมแม่ ในระยะนี้เด็กเริ่มมีฟันกระเพาะอาหารสามารถสร้างน้ำย่อยได้แล้ว ควรให้อาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะข้นขึ้นและหยาบมากขึ้นเช่นเนื้อสัตว์ต่างๆสับเป็นชิ้นเล็กๆ

อายุ 8 ถึง 10 เดือน ให้กินนมแม่และให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อโดยให้อาหารสลับกันในปริมาณที่มากขึ้น

อายุ 10-12 เดือน ควรให้เด็ก คอยช่วยเหลือโดยหาอาหารที่ไม่แข็งไม่เหนียวและมีขนาดใหญ่เกินไปหรือให้ถึงกินเองบ้างเพิ่มมื้ออาหารเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ 12 เดือนก็สามารถกินอาหารได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น

อาหารสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี
     เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าผู้ใหญ่เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ควรให้อาหารหลัก 3 มื้อและอาหารเสริมเป็นนมและของว่างที่มีประโยชน์

อาหารสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
     เด็กในวัยนี้จะมีระยะการเจริญเติบโตที่ช้ามากกว่าในระยะ 2 ระยะแรกดังนั้นจึงไม่ต้องการอาหารในการพัฒนาการมากนักจะให้ความสนใจอาหารน้อยลงผู้ดูแลควรดูแลอาหารหลักอาหารกลางวัน 1 มื้ออาหารเสริมหรืออาหารว่าง 2 มื้อสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือรสชาติต้องอร่อยถูกปากเด็กทั้งต้องมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย


จากนั้นอาจารย์ก็สั่งงานให้ไปหาเมนูอาหารเพื่อที่จะมาทำกันในอาทิตย์หน้า 



ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนได้อย่างเข้าใจง่ายมาก 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนมาก 
ประเมินตอนเอง : วันนี้ตั้งใจเรียนมาก 

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 12

10 เมษายน 2561


          วันนี้เป็นการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเป็นสัปดาห์ที่ 12 วันนี้ตอนต้นชั่วโมง อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับตารางเรียนในช่วงปี2 และแนะนำกิจกรรมที่จะทำในช่วงทำกิจกรรมรับน้อง ต่อจากนุ้นก็เป็นขั้นตอนของการนำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำในสัปดาห์ก่อน คือ วิธีการจัดการประสบการณ์ คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แต่เนื่องด้วยสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่จะเข้าวันหยุดยาวสงกรานต์จึงทำให้เพื่อนๆ จำนวนมาก เดือนทางกลับบ้าน ทำให้บางกลุ่มไม่ได้นำเสนองาน ซึ้งในวันนี้มีกลุ่มที่นำเสนองานดังต่อไปนี้ 



 ต่อจากนุ้นก็เป็นขั้นตอนของการนำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำในสัปดาห์ก่อน คือ วิธีการจัดการประสบการณ์ คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แต่เนื่องด้วยสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่จะเข้าวันหยุดยาวสงกรานต์จึงทำให้เพื่อนๆ จำนวนมาก เดือนทางกลับบ้าน ทำให้บางกลุ่มไม่ได้นำเสนองาน ซึ้งในวันนี้มีกลุ่มที่นำเสนองานดังต่อไปนี้ 


1.ความมีน้ำใจ 

คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

                                  

2.ความสุภาพ

คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย


                                      

                                      

3.ความสามัคคี

คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ

                                        
                                       

                                       

4.ความประหยัด 

คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ


                                          

5.ความสะอาด 

คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ


                                      
                              

                                     

6.ความขยัน

คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง


                                       
           

                                        

7.ความซื่อสัตย์

คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง


                                   


                                    

8.ความมีวินัย 

คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก คอยให้คำปรึกษาแนะนำตลอด และเวลาสอนก็จะคอยให้หลักในการการคิด และแนวทางในการปฏบัติมาใช้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจที่จะนำงานของตอนมานำเสนอเป็นอย่างดี และแต่ละกลุ่มมีแนวทางในการนำเสนอที่หลากหลายแตกต่างกันไป

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจและรับผิดชอบต่องานของตนเองดี 

สัปดาห์ที่ 11

27 มีนาคม 2561

          วันนี้เป็นสัปดาห์ทีี่ 11 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้ก็เป็นการนำเสนอผลงานที่อาจารญืเคยให้ไว้ คือ การไปสัมภาษณ์คุณครูตามโรงเรียนต่างๆ เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ดดยแต่ละกลุ่มก็จะจัดทำเป็นวีดีโอของตนเอง แล้วนำมาเปิดหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนๆได้รับชมร่วมกัน 

1.มูลนิธิปากเกร็ด



2.โรงเรียนเทพวิทยา




3.โรงเรียนวัดสนามนอก




4.โรงเรียนสาธิตราม 



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจดูสิ้งที่นักศึกษษนำเสนอเป็นอย่างมาก และคอยสอดแทรกข้อคิดต่างๆ และคอยเสนอแนะสิ่งที่ควรนำมาปรับปรุง


ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความรับผืดชอบต่องานของตอนเองเป็นอย่างมาก ส่งงานตรงเวลา และงานออกมาดีทุกกลุ่ม


ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และ ฟังการนำเสนองานดี