วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 14

24 เมษายน 2561

          วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนในวิชานี้ ซึ่งวันนี้ เราได้มีการทำอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย ตามที่เคยแบ่งกลุ่มกันไว้ 3 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะต้องทำ 2 เมนู 




          และวันนี้อาจารย์ก็ได้ทำขนมหวานให้ทาน คือบัวลอยไข่หวาน ที่ทำจากสีธรรมชาติ สีเหลืองจากฟักทอง สีม่วงจากมันม่วง เป็นขนมที่น่าทานและปลอดภัยไม่มีสิ่งเจือปนมาก 


          และกิจกรรมสุดท้ายของวันนี้ คือการแจกของรางวัลให้กับนักศึกษาที่มีดาวเด็กดีเยอะ จำนวน 15 รางวัล ซึ่งดิฉันก็เป็นหนึ่งในผู้โชคดีคนนั้นด้วย


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารักมาก ทำขนมอร่อย และใส่ใจกับการทำมาก 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนดูแล้วมีความสุขกับการทำอาหาร และ ตั้งใจทำอย่างมาก

ประเมินตัวเอง : ดิฉันเป็นคนที่ทำอาหารไม่ค่อยเก่ง แต่ก็คอยเป็นลูกมืออย่างตั้งใจ 

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 13

17 เมษายน 2561


          วันนี้เป็นวันที่เปิดทำการเรียนการสอนวันแรก หลังจากที่หยุดยาวสงกรานต์ วันนี้อาจารย์ก็ทำการสอนตามปกติ วันนี้เราเรียนเรื่องอาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 


อาหารและโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 

          อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อร่างกายของมนุษย์ นับตั้งแต่ปฏิสนธิอยู่ในครรภ์มารดาเมื่อเริ่มมีชีวิต ทารกจะได้รับอาหารผ่านทางสายรก และใช้ในการเจริญเติบโตตลอดมา อาหารที่เรากินเข้าไปจะส่งผลต่อร่างกายของเรา เช่น เรากินอาหารที่มีคุณค่า เราก็จะสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างกระฉับกระเฉง มีพลังที่จะดำเนินชีวิตประจำวันได้


หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่

อาหารหมู่ที่ 1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆอาหารหมู่ที่ 2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่นอาหารหมู่ที่ 3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใยอาหารหมู่ที่ 4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่อาหารหมู่ที่ 5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น 

หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
          ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 5 ปีถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของการเจริญเติบโตและการมีพัฒนาการในทุกๆด้านของชีวิตเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการอย่างรวดเร็วทางเด็กได้รับการเลี้ยงดูได้รับอาหารอย่างเพียงพอก็จะทำให้เด็กเติบโตได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อาหารสำหรับเด็กทารก (แรกเกิด - 1 ปี)
ในระยะแรกเกิดจนถึง 4 เดือนให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวการเริ่มฝึกให้อาหารเด็กตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปแบ่งได้เป็น 6 ระยะดังนี้

อายุ 4 เดือน ระยะเริ่มแรกให้อาหารเสริมนอกจากนมแม่แล้วให้เข้าบดผสมกับน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่ายผสมไข่แดงต้มสุกประมาณ 1 ใน 4 ฟองบนน้ำแกงจืดที่ใส่ผักต่างๆให้สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกงอม

อายุ 5 เดือน เด็กยังกินนมแม่แต่ควรเพิ่มโปรตีนจากเนื้อปลาบดละเอียดผสมน้ำแกงจืดจากผัก ควรใส่ผักในข้าวสลับกับฟักทองมะเขือเทศหรือแครอทสลับกับการใส่ไข่แดงต้มสุกบดให้ละเอียด 1 ฟอง

อายุ 6 เดือน กินนมแม่ให้อาหารแทนนม 1 มื้อโดยเริ่มกินไข่ต้ม ใส่น้ำแกงจืดผสมผัดตับบดและผลไม้สุกบดละเอียดตามฤดูกาล

อายุ 7 เดือน ยังกินนมแม่ ในระยะนี้เด็กเริ่มมีฟันกระเพาะอาหารสามารถสร้างน้ำย่อยได้แล้ว ควรให้อาหารชนิดใหม่ๆที่มีลักษณะข้นขึ้นและหยาบมากขึ้นเช่นเนื้อสัตว์ต่างๆสับเป็นชิ้นเล็กๆ

อายุ 8 ถึง 10 เดือน ให้กินนมแม่และให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อโดยให้อาหารสลับกันในปริมาณที่มากขึ้น

อายุ 10-12 เดือน ควรให้เด็ก คอยช่วยเหลือโดยหาอาหารที่ไม่แข็งไม่เหนียวและมีขนาดใหญ่เกินไปหรือให้ถึงกินเองบ้างเพิ่มมื้ออาหารเป็นสามเณรเมื่ออายุครบ 12 เดือนก็สามารถกินอาหารได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น

อาหารสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี
     เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าผู้ใหญ่เสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ควรให้อาหารหลัก 3 มื้อและอาหารเสริมเป็นนมและของว่างที่มีประโยชน์

อาหารสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี
     เด็กในวัยนี้จะมีระยะการเจริญเติบโตที่ช้ามากกว่าในระยะ 2 ระยะแรกดังนั้นจึงไม่ต้องการอาหารในการพัฒนาการมากนักจะให้ความสนใจอาหารน้อยลงผู้ดูแลควรดูแลอาหารหลักอาหารกลางวัน 1 มื้ออาหารเสริมหรืออาหารว่าง 2 มื้อสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือรสชาติต้องอร่อยถูกปากเด็กทั้งต้องมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย


จากนั้นอาจารย์ก็สั่งงานให้ไปหาเมนูอาหารเพื่อที่จะมาทำกันในอาทิตย์หน้า 



ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์สอนได้อย่างเข้าใจง่ายมาก 
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียนมาก 
ประเมินตอนเอง : วันนี้ตั้งใจเรียนมาก 

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 12

10 เมษายน 2561


          วันนี้เป็นการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยเป็นสัปดาห์ที่ 12 วันนี้ตอนต้นชั่วโมง อาจารย์ได้แนะนำเกี่ยวกับตารางเรียนในช่วงปี2 และแนะนำกิจกรรมที่จะทำในช่วงทำกิจกรรมรับน้อง ต่อจากนุ้นก็เป็นขั้นตอนของการนำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำในสัปดาห์ก่อน คือ วิธีการจัดการประสบการณ์ คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แต่เนื่องด้วยสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่จะเข้าวันหยุดยาวสงกรานต์จึงทำให้เพื่อนๆ จำนวนมาก เดือนทางกลับบ้าน ทำให้บางกลุ่มไม่ได้นำเสนองาน ซึ้งในวันนี้มีกลุ่มที่นำเสนองานดังต่อไปนี้ 



 ต่อจากนุ้นก็เป็นขั้นตอนของการนำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ไปทำในสัปดาห์ก่อน คือ วิธีการจัดการประสบการณ์ คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ แต่เนื่องด้วยสัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่จะเข้าวันหยุดยาวสงกรานต์จึงทำให้เพื่อนๆ จำนวนมาก เดือนทางกลับบ้าน ทำให้บางกลุ่มไม่ได้นำเสนองาน ซึ้งในวันนี้มีกลุ่มที่นำเสนองานดังต่อไปนี้ 


1.ความมีน้ำใจ 

คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจ เห็นคุณค่าในเพื่อนมนุษย์ มีความเอื้ออาทร เอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่น เข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการ เพื่อบรรเทาปัญหาหรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน

                                  

2.ความสุภาพ

คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่มผู้อื่น ทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย


                                      

                                      

3.ความสามัคคี

คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ

                                        
                                       

                                       

4.ความประหยัด 

คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ผู้ที่มีความประ หยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ


                                          

5.ความสะอาด 

คือ ปราศจากความมัวหมอง ทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใส เป็นที่เจริญตา ทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว มีความแจ่มใสอยู่เสมอ


                                      
                              

                                     

6.ความขยัน

คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ อดทนไม่ท้อถอยเมื่อพบอุปสรรค ความขยันต้องควบคู่กับการใช้ปัญญา แก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย ผู้ที่มีความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อ เนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควร เป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอย กล้าเผชิญอุปสรรค รักงานที่ทำ ตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง


                                       
           

                                        

7.ความซื่อสัตย์

คือ ประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม มีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติ ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรง ทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกง ทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง


                                   


                                    

8.ความมีวินัย 

คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับ และข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศ โดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก คอยให้คำปรึกษาแนะนำตลอด และเวลาสอนก็จะคอยให้หลักในการการคิด และแนวทางในการปฏบัติมาใช้

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความตั้งใจที่จะนำงานของตอนมานำเสนอเป็นอย่างดี และแต่ละกลุ่มมีแนวทางในการนำเสนอที่หลากหลายแตกต่างกันไป

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจและรับผิดชอบต่องานของตนเองดี 

สัปดาห์ที่ 11

27 มีนาคม 2561

          วันนี้เป็นสัปดาห์ทีี่ 11 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้ก็เป็นการนำเสนอผลงานที่อาจารญืเคยให้ไว้ คือ การไปสัมภาษณ์คุณครูตามโรงเรียนต่างๆ เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ดดยแต่ละกลุ่มก็จะจัดทำเป็นวีดีโอของตนเอง แล้วนำมาเปิดหน้าชั้นเรียน เพื่อให้เพื่อนๆได้รับชมร่วมกัน 

1.มูลนิธิปากเกร็ด



2.โรงเรียนเทพวิทยา




3.โรงเรียนวัดสนามนอก




4.โรงเรียนสาธิตราม 



ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจดูสิ้งที่นักศึกษษนำเสนอเป็นอย่างมาก และคอยสอดแทรกข้อคิดต่างๆ และคอยเสนอแนะสิ่งที่ควรนำมาปรับปรุง


ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนมีความรับผืดชอบต่องานของตอนเองเป็นอย่างมาก ส่งงานตรงเวลา และงานออกมาดีทุกกลุ่ม


ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน และ ฟังการนำเสนองานดี 

วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 10

20 มีนาคม 2561

         

          วันนี้เป็นสับดาห์ที่ 10 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้พวกเราได้เรียนเกี่ยวกับ แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กปฐมวัย



แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้



          สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคลได้แก่ร่างกาย
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สังคม สิ่งของ

          ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
1. ประสบการณ์ ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น การแสดงออกถึงความเป็นพี่ เป็นน้อง
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสร้างความสัมพันธ์ภายในสังคม เช่น บทบาททางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่เด็ก เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว อุบัติเหตุ


          สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย เช่นมลภาวะ อาหาร
2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม เช่น รถติด ชุมชนแออัด การติดต่อสื่อสาร
3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เช่น การศึกษาผ่านโทรศัพท์มือถือ


          การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่มีลักษณะและคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมภายในอาคารและภายในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน ครูผู้สอนจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดี


การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเด็กปฐมวัย


                 

          จริยธรรม คือ หลักเกณฑ์แห่งการปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะ ที่ควร เป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นและการพัฒนาคนให้มีจริยธรรมต้องใช้ระยะเวลาโดยเริ่มตั้งแต่วัยต้นของชีวิต


๏ ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์  ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเองโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว


๏ ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
          พฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่พฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายสถานการณ์เดิม
          ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลของพฤติกรรม นั้นว่าการเสริมแรงทางบวก
          แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่าการลงโทษ


๏ ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ


           8 คุณธรรมพื้นฐาน
1. ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2. ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน
3. ซื่อสัตย์ คือประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ
4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ
5. สุภาพ คือ อ่อนโยน ละมุนละม่อม
6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม
7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกันความปรองดองกัน
8. มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างได้อยากเห็นภาพชัดเจน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี 

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 9

13 มีนาคม 2561 


          วันนี้เป็นสัปดาห์ที่อาจารย์นัดสอบกลางภาคนอกตาราง โดยการสอบจะเริ่มตั้งแต่ 12.00 น. ถึง 14.00 น. ก่อนถึงเวลาสอบนั้น เพื่อนๆทุกคนดูตื่นเต้นมาก บางคนก็หาที่อ่านหนังสือทบทวนเงียบๆคนเดียว บางคนก็จับกลุ่มติวกับเพื่อน เมื่อถึงเวลาสอบ เพื่อนก็เข้าที่ของตนเอง และตั้งใจทำข้อสอบเป็นอย่างมาก 



          เมื่อสอบเสร็จแล้ว ก็ได้ทำการส่งสมุดบันทึกกิจกรรม เพื่อให้อาจารย์ตรวจ เมื่อตรวจเรียบร้อยก็แยกย้ายกัน


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก ขนาดสอบแล้สยังทำให้นักศึกษาผ่อนคลายโดยหามีมุกมาเล่น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนดูตื่นเต้นกับการสอบมาก เพราะเป็นข้อเขียนทั้งหมด 

ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นมากๆเหมือนกัน แต่ก็ทำเต็มที่แล้ว ทำดีที่สุดแล้ว 

สับดาห์ที่ 8

6 มีนาคม 2561



           วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 8 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับวันหยุดที่ใกล้จะถึง 

ต่อจากนั้นก็ได้ให้ชมคลิปตัวอย่างของการไปสัมภาษณ์ครูและผู้ปกครอง ในหัวข้อเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏบัติงานในครั้งต่อไป เมื่อดูคลิปวีดีโอเสร็จเรียบร้อย กิจกรรมต่อมาก็เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย คืองานเกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทั้ง 4 วิธี ดังนี้


รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 4 วิธี


1.การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

          การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยเป็นการเลี้ยงดูที่ พ่อแม่ ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมนอกจากให้ความรักแล้วยังให้ความสำคัญกับลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัวพ่อแม่ต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริงๆ


          การเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย จะทำให้เด็กเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเองมีเหตุผล มีความรับผิดชอบ มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใสมองโลกในแง่ดี เรียนรู้อะไรได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวได้ดี 


2. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย

          
           การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เป็นการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเล่นอะไรอย่างไรพ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่ ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่างๆตามใจชอบ ไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม 


          การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย จะทำให้เด็กมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะกับผู้อื่นอยู่บ่อยๆ มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ ลูกมีอาการเซื่องซึมไม่สามารถปรังตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์

3. การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก

           การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก พ่อแม่มักจะเคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น มักดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกอธิบายหรอแสดงเหตุผลคัดค้าน กำหนดวิธีการดำเนินชิวิตตั้งแต่เกิด 

          การเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก จะทำให้เด็กเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองไม่กล้าตัดสินใจ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่ 


4. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป


           การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป พ่อแม่มักจะคอยชี้แนะช่วยเหลือตลอดเวลา ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อเพราะกลัวลูกถูกรังแก ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองเวลาทำงานต่างๆ


    
          การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป จะทำให้เด็กเป็นครที่เอาแต่ใจ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 

สรุปเรื่องที่เรียน : การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีหลายวิธี แต่ละครอบครับก็จะมีวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไป แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการมอบความรัก เอาใจใส่ให้ลูก ควรสอนสิ่งที่ดีงามและถูกต้องให้เด็ก เพราะครูที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่ 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจดูการนำเสนอมาก และคอยให้คำแนะนำและสอดแทรกความรู้ให

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ตั้งใจในการนำเสนอ และตั้งใจดูการนำเสนอของเพื่อน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี และตั้งใจดูการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่มอย่างเรียบร้อยดี

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 7

20 กุมภาพันธ์ 2561


          วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 7 สำหรับวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้เราเรียนเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตามชื่อวิชาเลยค่ะ 

บทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 


วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อาจจัดได้ 4 วิธีดังนี้
     วิธีที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่น แบบประชาธิปไตย
     วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก
     วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
     วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป

๏ การดูแลเด็กวัยทารก
      เด็กวัยทารกตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปีเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆ ของชีวิตในทุกๆด้านเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรให้เวลานี้ เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการ จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

๏ การเลี้ยงทารกด้วยนมแม่
          นมแม่ เป็นนมที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กทารก ในระยะแรกของชีวิตเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างภูมิต้านทานโรค ดังเหตุผลต่างๆต่อไปนี้

     1. คุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ นมแม่แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1.1. น้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่ออกมาในระยะ 2 ถึง 4 วันแรกจะหลั่งภายใน 12 ถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอด
1.2. น้ำนมแม่ หลังคลอด 2 ถึง 4 วัน

     2. ลักษณะที่ดีของนมแม่
นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน สะดวกไม่ต้องเสียเวลาชง นมแม่สะอาดและปลอดภัยมีสารป้องกัน การติดเชื้อลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้ นมแม่ไม่ทำให้ลูกอ้วนมีผลดีต่อจิตใจ มีผลดีต่อแม่ทำให้มดลูกไม่เข้าอู่เร็ว

     3. หลักการให้นมทารกด้วยนมแม่
3.1. การเตรียมตัวของแม่ก่อนคลอด ควรมีการออกกำลังและ เตรียมใจไว้ ด้วยการเตรียมหัวนม ควรจะเริ่มทำในระยะกลางกลางของการตั้งครรภ์
3.2. การให้นมลูกอ่านให้ทุก 3-4 ชั่วโมงหรือตามความต้องการของลูกก็ได้

     4. การให้นมผสม
4.1. ชนิดของนมผสม
     - นมผงคล้ายนมมารดา
     - นมผมครบส่วน
     - นมข้นจืด
     - นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว
4.2. วิธีให้นมผสมหรือนมขวด ไม่ควรใช้ผ้าหรือหมอนรองหนุนขวดให้ทารกนอนดูดได้และไม่ควรให้ทารกนอนดูดนม จนหลับไป โดยยังอมหัวนมอยู่
4.3. การชงนม สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือความสะอาด นมที่แน่ใจว่าสะอาด คือนมที่ชงกินมื้อต่อมื้อ
4.4. การทำความสะอาดขวดนมและหัวนม สามารถทำได้โดยการนำขวดนมทั้งชุดไปต้ม

๏ ข้อแนะนำในการให้อาหารเสริมทารก
     1. ไม่ควรให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ก่อนอายุ 4 เดือน
     2. เมื่อเด็กอายุได้ 4 เดือนเต็มจะเริ่มให้อาหารอื่นได้
     3. การให้อาหารใหม่แต่ละชนิดควรเว้นระยะห่าง นาน 1-2 สัปดาห์
     4. ถ้าเด็กปฏิเสธอาหารในครั้งแรกๆ อย่าพยายามยัดเยียดหรือบังคับให้กิน
     5. อย่าปรุงอาหารรสจัดให้แก่เด็ก
     6. ไม่ควรให้น้ำหวานแก่เด็ก
     7. ก่อนมื้ออาหารประมาณ 2 ชั่วโมงไม่ควรให้เด็กกินขนมหรือกินเล่น
     8. การเตรียมอาหารสำหรับเด็กต้องระวังในเรื่องความสะอาด
     9. ถ้าทารกท้องผูกการให้อาหารเสริมจะช่วยได้มากช่วยได้มาก
     10. ให้อาหารที่ทำสุกใหม่ๆแก่ทารก
     11. การให้เด็กกินอาหารนั้นควรให้กินก่อนการดื่มนมแม่
     12. ในการเตรียมอาหารเด็กควรให้มีอาหารหลากหลายชนิด

๏ ปัญหาเด็กวัยทารก
     1. ปัญหาจากการร้อง 
     2. ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
     3. ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
     4. ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
     5. ปัญหาเกี่ยวกับปากและนัยน์ตา
     6. ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ

๏ การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน
          เด็กวัยก่อนเรียน หรือเด็กมต้นมีอายุ 2-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตเพราะเป็นวัยทองของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิต เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุด ที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญ

๏การสร้างระเบียบวินัย

     1. หลักของระเบียบวินัยมีหลักสำคัญ 4 ประการ
   - เด็กต้องประพฤติในสิ่งที่ดี และขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
   - เด็กต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับการทำดีและไม่พึงพอใจกับการทำที่ไม่ดี
   - เด็กต้องการทำความดีจนกระทั่งเกิดความเคยชินหรือเกิดเป็นนิสัยโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ
   - เด็กต้องเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ดีไม่พึงปรารถนาเป็นพฤติกรรมที่ดีที่พึงปรารถนาของสังคม

     2. การฝึกวินัย นักจิตวิทยาได้แยกการฝึกวินัยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
   - การฝึกวินัยโดยการใช้ความรักเป็นตัวนำ
   - การฝึกวินัยโดยใช้วัตถุเป็นตัวนำ
   - การวางกฎเกณฑ์

     3. การช่วยให้เด็กรู้จักบังคับตนเอง
     4. การปฏิบัติตนของพ่อแม่ในการฝึกนิสัย

๏ การฝึกลักษนะนิสัยที่ดี

     1. การรับประทานอาหาร
1.1. สร้างนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร
1.2. ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
1.3. ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหาร รสจัด น้ำอัดลม อาหารที่มีไขมันมากเกินไปอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่มีผงชูรสมาก และอาหารที่เด็กแพ้เฉพาะราย
     
     2. การฝึกการขับถ่าย
       การฝึกนิสัยการขับถ่ายให้แก่เด็กนั้น มีความแตกต่างกันระหว่างเด็กทารกกับเด็กวัยก่อนเรียน การฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป และใช้ความอดทนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฝึก การฝึก ก่อนเด็กจะมีความพร้อม อาจจะทำให้เด็กมีปัญหาเกิดขึ้น

     3. การฝึกนิสัยการนอน
3.1. จัดสภาพแวดล้อมให้ดีเหมาะกับการนอน ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมากและปัสสาวะให้เรียบร้อย
3.2. การกำหนดเวลาจะช่วยให้เด็กเคยชินและนอนได้นานๆ ก่อนนอนควรให้เด็กดูภาพสวยงามและเป็นความรู้เล็กน้อยหรือเล่านิทาน

     4. การฝึกนิสัยการอาบน้ำแต่งตัว
4.1. การอาบน้ำ เมื่อถึงเวลาอาบน้ำให้เตือนล่วงหน้า 5 นาที และเตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำให้พร้อมคนสอนให้เด็กถูกตัวเองในที่ถูกถึง ให้เด็กเห็นว่าการอาบน้ำเป็นเรื่องสนุก
4.2.  การแต่งตัว ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแต่งตัวเอง เพื่อให้เด็กฝึกการปฏิบัติตนในเรื่องการแต่งตัว ชมเชยเมื่อเด็กได้ทำถูกต้อง

๏ ปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน
     1. ปัญหาด้านสุขภาพกายสุขภาพจิต
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือแม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กอย่างทารุณขาดคุณธรรมและจริยธรรม
     2. ปัญหาด้านโภชนาการ
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ ขาดความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร
     3. ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน
สาเหตุของปัญหา คือ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก
     4. ปัญหาทางด้านสังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ เด็กเป็นบุตรนอกสมรสและเกิดจากการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษา และขาดความรับผิดชอบครอบครัวแตกแยก

          เมื่ออาจารย์สอนเกี่ยวกับเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ : การอบรมเลี้ยงดูเด็กควรเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ จนเด็กคลอดออกม ถ้าเราเลี้ยงดูเด็กอย่าง เด็กก็จะเป็นอย่างนั้น

ประเมินอาจารย์ : เวลาที่อาจารย์สอน อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างที่สามารถเข้าใจได้ และหามุกมาให้นักศึกษาคลายเครียด 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจมาก ฟังกันอย่าสงบ 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และสรุปสิ่งที่ได้เรียนมาได้ 


สัปดาห์ที่ 6

13 กุมภาพันธ์ 2561


          วันนี้เป็นสับดาห์ที่ 6 ของการเรียน ในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งวันนี้มีการนำเสนองาน 2 งาน ด้วยกัน ได้แก่ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและชาร์ตความต้องการของเด็กปฐมวัย โดยทฤษฎีที่ได้รับมอบหมาย คือทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสันโดยมีเนื้อหาดังนี้ 



ทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสัน


ประวัติของอิริคสัน
     อิริคสัน เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาและจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตประเทศเยอรมันต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปีคริสตศักราช 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตันเห็นว่าการจัดทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดูสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยาซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมต้องพึ่งมนุษย์มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
   อิริคสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ การสร้างทฤษฎีในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้ให้ความสำคัญทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาบุคลิกภาพความคิดของอิริคสันต่างจากฟรอยด์ หลายประการเป็นต้นว่าเห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่นแต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตคือวัยชราและตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆทฤษฎีจิตสังคมได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นตอนคือ

พัฒนาการทาง บุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน

ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจความไม่ไว้วางใจ (ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสมทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัยน่าอยู่และไว้วางใจได้แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความอันตราย

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองกับความแรงใจ (ในช่วง 2-3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองรู้ว่าตัวเองมีความสําคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดูให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก

ขั้นที่ 3 ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (ในช่วง 4 ถึง 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแนวคิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆก็จะเป็นส่วนส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรความรู้สึกต่ำต้อย (ในช่วง 6 ถึง 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นมีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็งโดยพยายามคิดผลิตสิ่งต่างๆให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจมีความมานะพยายามมากขึ้น

ขั้นที่ 5 ความเป็นเอกลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (ในช่วง 12 ถึง 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นและเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใครถ้าเขาค้นหาตนเองได้เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ขั้น 6 ความผูกพันกับการแยกตัว (ในช่วง 18 ถึง 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรักความผูกพันเมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้วก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจสามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ตลอดถึงแสดงความยินดีและเสียสละให้แก่กัน


ขั้นที่ 7 การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (ในช่วง 35 ถึง 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคนซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้เต็มที่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดีมีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุขมีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าต้องการข้างก็จะไม่ประสบความสำเร็จเขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอยเบื่อหน่ายกับชีวิตคิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม

ขั้นที่ 8 บูรณาการกับความสิ้นหวัง (ในช่วง 60 ปี) ขึ้นไปเป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวันสุดท้ายถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่างๆมาด้วยดีก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จมีปรัชญาชีวิตตนเองภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆให้แก่ลูกหลานแต่ถ้าตรงกันข้ามชีวิตมีแต่ความล้มเหลวก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิตเสียดายเวลาที่ผ่านมา



เมื่อนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาของของเด็กปฐมวัยเรียบร้อยแล้วก็ได้นำเสนอชัดความต้องการของเด็กปฐมวัยจนครบทุกกลุ่ม


ความรู้ที่ได้รับ : ทฤษฎีของอิริคสันเป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชราอิริคสัน เชื่อว่าไปแลกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้นและไวต่อต่อมาก็สร้างจากรากฐานนั้นถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและอบอุ่นก็จะทำให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่น


** หมายเหตุ : เนื่องจากวันที่ 13 - 16 กุมภาพันธ์ ไปฝึกภาคสนาม ที่เขาชนไก่ จังหมดกาญจนบุรี ทำให้ไม่ได้เข้าเรียน

สัปดาห์ที่ 5

6 กุมภาพันธ์ 2561


          สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่ 5 ของการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการนำเสนองาน บทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และเรื่องที่ดิฉันได้เลือกมาคือเรื่องวิธีการเลือกของเล่นให้ลูก



บทความเรื่อง วิธีการเลือกของเล่นให้ลูก 


          การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็กๆ ของเล่นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ที่ใส่ใจในเรื่องพัฒนาการของลูกทราบดีว่าการเลือกของเล่นให้ลูกไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงมีเคล็ดลับมาแชร์ค่ะ
     1. ไม่ต้องสนใจว่าของเล่นนั้นเหมาะสำหรับเด็กชายหรือเด็กหญิง เพราะเด็กๆเขายังไม่รู้จักการแบ่งเพศ ดังนั้นเด็กผู้ชายก็สามารถเล่นขายของได้ การได้เล่นที่หลากหลายช่วยให้เด็กได้มีประสบการณ์และมีพัฒนาการด้านการใช้ชีวิตประจำวันได้ดี
     2. เลือกของเล่นที่เติบโตไปพร้อมกับลูก  เช่น บ้านตุ๊กตาจะช่วยฝึกลูกในเรื่องกิน นอนอาบน้ำ เตรียมอะไรเป็นอาหารเย็น เป็นต้น เป็นจินตนาการที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันทำให้ลูกได้เรียนรู้ศัพท์มากขึ้น ฝึกภาษาและสร้างประสบการณ์
     3. เลือกของเล่นที่ลูกต้องเล่นเองมากกว่าแค่กดปุ่มเพียงปุ่มเดียวแล้วทำได้ทุกอย่าง หาของเล่นที่ลูกต้องเขย่า หยอด วาง หยิบ หมุ่น อ่าน มอง จินตนาการ 
     4. อย่ากังวลมากไปที่จะต้องหาของเล่นประเภท SCLANS (Shape , Color , Letters and Numbers) ให้ลูก การเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกยังมีวิธีอื่นอีก เช่น การเลือกของเล่นประเภทบทบาทสมมุติ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นเป็นหมอ หรือเล่นขายของ
     5. ไม่จำเป็นต้องมีของเล่นเยอะแยะ เพื่อให้ลูกได้ใช้เวลามากพอและมีสมาธิกับของเล่นชิ้นที่มีอยู่ จะได้มีประสบการณ์และเข้าใจของเล่นชิ้นนั้นๆมากขึ้น
ที่มา : http://www.toy2go.com

ความรู้ที่ได้รับ : การเลือกของเล่นให้เด็ก ต้องดูด้วยว่าเหมือนสมกับเด็กหรือไม่ การเลือกของเล่นของเด็กที่เหมาะสม คือการให้เด็กได้เล่นโดนการได้ทำเอง เพื่อนเป็นการสร้างประสบการณ์ของเด็ก 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความสนใจกับบทความทุกบาทความ และ สนใจนักศึกษาทุกคน เมื่อนักศึกษานำเสนอบทความจบ อาจารย์ก็จะมีเกร็ดความรู้ให้ พร้อมสรุปให้อย่าเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน : เวลาที่ดิฉันเป็นผู้นำเสนอบทความเพื่อนๆตั้งใจฟังเป็นอย่างมาก และมีการตั้งคำถามเมื่อสงสัยได้สอดคล้องกับบมความ และเพื่อนๆก็นำเสนอบทความของตนเองได้ดี

ประเมินตนเอง : ตอนที่ออกไปนำเสนอ มีความตื่นเต้นมาก แต่ก็สามารถนำเสนอบทความได้ดีกว่าที่คิดไว้ 

สัปดาห์ที่ 4

30 มกราคม 2561


        วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 4 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะเข้าบทเรียน อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการแบ่งงานกลุ่มเพื่อที่จะไปศึกษาดูงาน หลังจากนั้น อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อที่จะทำชาร์ตงาน เกี่ยวกับความต้องการของเด็กปฐมวัยและ การตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัยของครูและผู้ปกครอง


ความต้องการของเด็กปฐมวัย

          ความต้องการของเด็กปฐมวัย ทั้ง 4 ด้านคือ 

๏ ความต้องการด้านร่างกาย


           พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากเนื่องจากเด็กที่มีสุขภาพที่ดีจะมีผลต่อการพัฒนาทางด้านอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนั้นในการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย จะต้องครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ดังนี้

     1. ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การส่งเสริมด้านโภชนาการ
     2. ด้านสุขนิสัย ได้แก่ กิจกรรมฝึกเด็กและดูแลให้เด็กปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย ด้านการขับถ่าย การดูแลความสะอาดร่างกาย การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
     3. ด้านประสาทการรับรู้ - การเคลื่อนไหวได้แก่ กิจกรรมเล่นเกมส์ประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เกมปิดตา เกมกล่องปริศนา
     4. ด้านกล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย
     5. ด้านกล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การปั้น การร้อย การตัดกระดาษ วาดภาพระบายสี ลากเส้นต่อจุด โยนรับลูกบอล เป็นต้น

          นอกจากนี้การส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัย สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

     1. การให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือ อาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
     2. การเล่นของเด็ก การเรียนของเด็ก คือ การเล่น เด็กจะพอใจที่ได้เล่นและช่วยเหลือตัวเอง จึงจำเป็นต้องจัดสถานที่ให้ปลอดภัย มีพื้นที่กว้าง มีอุปกรณ์เครื่องเล่นอย่างเพียงพอ
     3. การขับถ่าย ควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองขณะเข้าห้องน้ำ โดยการเตือนให้เข้าห้องน้ำและช่วยจัดการกับตนเองหลังจากเข้าห้องน้ำเสร็จ
     4. การนอนหลับพักผ่อน การพักผ่อนที่เพียงพอ และเหมาะสมจะช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี รวมถึงการพักผ่อนระหว่างกิจกรรมด้วย
     5. การรักษาความสะอาดร่างกาย พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรักษาความสะอาดร่างกาย โดยการรู้จักอาบน้ำการใช้สบู่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร การแปรงฟันบ้วนปากหลังอาหาร
     6. การสร้างภูมิคุ้มกันโรคควรพาไปตรวจสุขภาพ และรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆตามอายุ

ความต้องการด้านอารมณ์ - จิตใจ  





           อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและแสดงออกอย่างชัดเจนทางพฤติกรรมอารมณ์มีทั้งสิ่งที่เป็นความพอใจ และไม่พอใจ อารมณ์มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมต่างๆได้ ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกมาเราก็สามารถบอกถึงอารมณ์ของเด็กที่แสดงออกมาได้

          ลักษณะความต้องการทางด้านอารมณ์ และการตอบสนองอารมณ์ของเด็กสามารถทำได้ดังนี้
     1. อารมณ์ของเด็กจะแสดงออกมาอย่างอิสระและเปิดเผย ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก ไม่ควรสกัดกั้นการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เพื่อเด็กจะได้ยอมรับและรับรู้อารมณ์ของตนเอง
     2. เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธผู้ใหญ่จะต้องหาทางให้เด็กมีอารมณ์โกรธน้อยที่สุด เพราะอารมณ์โกรธของเด็กจะเป็นอารมณ์ที่มีความรุนแรงขาดการยับยั้งใจและไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้
     3. เด็กต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดความกลัว ครูไม่ควรจะไปล้อเลียนความกลัวของเด็ก หรือบังคับให้เด็กอยู่กับความกลัว ครูควรยอมรับและเข้าใจอารมณ์กลัวของเด็ก
     4. เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือครู ดังนั้นครูหรือผู้ปกครองเด็กจะต้องให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กให้ความยุติธรรมกับเด็ก
     5. เด็กไม่ชอบให้ใครมาขัดใจดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ควรขัดใจเด็กเพราะเมื่อขัดใจเด็กแล้ว เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวผู้ใหญ่ไม่ควรไปสนใจมากเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่

ความต้องการด้านสติปัญญา 



          พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากเพราะช่วงเด็กปฐมวัย จะเป็นพื้นฐานด้านสติปัญญาของผู้ใหญ่ในอนาคต พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
     1. ลักษณะทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 3 ปี เด็กยังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม การเรียนรู้ควรเริ่มจากสิ่งง่ายๆไม่ซับซ้อนเด็กจะชอบซักถามและมีความอยากรู้อยากเห็น
     2. ลักษณะ ทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 4 ปี เด็กเริ่มพัฒนาความเข้าใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เริ่มมีการใช้หลักเกณฑ์ และหาเหตุผล เข้าใจตัดสินสิ่งต่างๆ แต่ยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบเรียนรู้ภาษาใหม่ๆชอบเล่นคำที่มีเสียงต่างๆเด็กชอบเล่นบทสมมุติมีความสนใจสั้นเริ่มแสดงออกด้านการเล่าเรื่อง ที่เป็นประสบการณ์ของตัวเอง
     3. ลักษณะทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 5 ปีวัยนี้ มี ความสนใจยังไม่นาน แต่มีลักษณะของการขยายความสนใจในเรื่องต่างๆมากขึ้นมีการใช้ภาษาดีขึ้นผู้เป็นประโยคมีความหมายดีขึ้นมีจินตนาการมีความเพ้อฝันชอบพูดเกินความเป็นจริง

          การตอบสนองความต้องการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ดังนี้
     1. ฝึกให้เด็กรู้จักสะสมความรู้สร้างความคิดและนำความคิดไปใช้ประโยชน์รวมทั้งการเสริมแรงให้แก่เด็ก
     2. คาดหวังและปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก
     3. ส่งเสริมให้เด็กรับรู้สิ่งเร้าอย่าง หลากหลาย ให้เด็กมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางโดยกระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลายวัยหลายระดับ
     4. ปฏิบัติต่อเด็กอย่างเข้าใจธรรมชาติ และระดับความสามารถของเด็ก
     5. ให้โอกาสเด็กสำรวจตรวจค้นแสดงความอยากรู้ทดลองและแสดงความคิดเห็นของตนโดยไม่ถูกสกัดกั้น
     6. ควรมีปฏิสัมพันธ์และพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา
     7. ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองตัดสินใจด้วยตนเองทำงานด้วยตนเองสนับสนุนให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่เด็ก

ความต้องการด้านสังคม



          ความต้องการทางด้านสังคมหมายถึงความต้องการที่จะประพฤติและปฏิบัติตามความหวังของสังคมซึ่งหมายถึงพฤติกรรมแสดงออกเป็นที่ยอมรับของสังคมและรูปแบบของพฤติกรรมตามที่สังคมกำหนด

          ความต้องการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยมีลักษณะความต้องการทางสังคมเป็นไปในลักษณะของการติดต่อสมาคมกับคนนอกบ้านรู้จักการเล่นกับเพื่อนครูผู้สอนมีโอกาสที่จะตอบสนองความต้องการทางสังคมของเด็กได้ดังนี้
     1. เด็กวัยนี้มีเพื่อน 1 - 2 คน และมักเปลี่ยนเพื่อนเล่นง่าย หรือเด็กบางคนชอบเล่นคนเดียวถ้าสังเกตว่าเด็กต้องการมีเพื่อนผู้ใหญ่จะต้องให้ความช่วยเหลือเด็ก
     2. เด็กชอบเปลี่ยนเพื่อนเล่นบ่อย ในการเปลี่ยนผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปยุ่งมากเกินไป  เพราะถ้าเข้าไปยุ่งมากจนเกินไปจะเป็นการทำลายพฤติกรรมสร้างสรรค์ของเด็ก
     3. เด็กชอบทะเลาะกันบ่อยแต่ในช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่เด็กมักจะลืมง่าย ถ้าเด็กมีปัญหาที่ไม่รุนแรงเกินไป เราควรจะปล่อยให้เด็กได้จัดการกันเอง ถ้าเด็กยังทะเลาะกันรุนแรง ผู้ใหญ่จะต้องแยกเด็กออกจากกันหรือให้เด็กเปลี่ยนเล่นอย่างอื่นแทน
     4. เด็กชอบแสดงออกโดยการเล่นบทบาทสมมุติหรือการเล่นละคร ครูควรสนับสนุนโดยการกระตุ้นให้เด็กได้แสดงออกในเรื่องที่เด็กสนใจ
     5. เด็กจะต้องยอมรับสภาพของการแยกตัวออกจากพ่อแม่ เด็กจะต้องมีความมั่นใจเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น ครูหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จะต้องสร้างบรรยากาศให้มีความรักความอบอุ่นและมีอิสระ อนุญาตให้เด็กทำในสิ่งที่ต้องการ
     6. เด็กวัยนี้ควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎเกณฑ์ ต่างๆ ถ้าเด็กยังขาดครูผู้สอนจะต้องให้ความช่วยเหลือเด็กและให้เด็กปฏิบัติบ่อยๆ จนกว่าเด็กเกิดความเคยชินและจะต้องให้กำลังใจเด็กอย่างต่อเนื่อง
     7. เด็กควรรู้จากการแบ่งปันเพราะเด็กวัยนี้ต้องการเล่นกับเพื่อนดังนั้นการปฏิบัติตนที่เหมาะสมจะทำให้เด็กมีเพื่อนเล่นด้วย

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้ถึงความต้องการของเด็กปฐมวัย และวิธีการตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวันที่เหมาะสม 

 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก ชอบหามุขมาเล่นกับนักศึกษาทำให้ไม่เครียด 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ