13 กุมภาพันธ์ 2561
วันนี้เป็นสับดาห์ที่ 6 ของการเรียน ในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งวันนี้มีการนำเสนองาน 2 งาน ด้วยกัน ได้แก่ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและชาร์ตความต้องการของเด็กปฐมวัย โดยทฤษฎีที่ได้รับมอบหมาย คือทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสันโดยมีเนื้อหาดังนี้
ประวัติของอิริคสัน
อิริคสัน เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาและจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตประเทศเยอรมันต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปีคริสตศักราช 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตันเห็นว่าการจัดทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดูสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยาซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมต้องพึ่งมนุษย์มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
อิริคสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ การสร้างทฤษฎีในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้ให้ความสำคัญทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาบุคลิกภาพความคิดของอิริคสันต่างจากฟรอยด์ หลายประการเป็นต้นว่าเห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่นแต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตคือวัยชราและตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆทฤษฎีจิตสังคมได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นตอนคือ
พัฒนาการทาง บุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจความไม่ไว้วางใจ (ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสมทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัยน่าอยู่และไว้วางใจได้แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความอันตราย
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองกับความแรงใจ (ในช่วง 2-3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองรู้ว่าตัวเองมีความสําคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดูให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก
ขั้นที่ 3 ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (ในช่วง 4 ถึง 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแนวคิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆก็จะเป็นส่วนส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป
ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรความรู้สึกต่ำต้อย (ในช่วง 6 ถึง 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นมีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็งโดยพยายามคิดผลิตสิ่งต่างๆให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจมีความมานะพยายามมากขึ้น
ขั้นที่ 5 ความเป็นเอกลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (ในช่วง 12 ถึง 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นและเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใครถ้าเขาค้นหาตนเองได้เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม
ขั้น 6 ความผูกพันกับการแยกตัว (ในช่วง 18 ถึง 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรักความผูกพันเมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้วก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจสามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ตลอดถึงแสดงความยินดีและเสียสละให้แก่กัน
ขั้นที่ 7 การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (ในช่วง 35 ถึง 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคนซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้เต็มที่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดีมีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุขมีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าต้องการข้างก็จะไม่ประสบความสำเร็จเขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอยเบื่อหน่ายกับชีวิตคิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม
ขั้นที่ 8 บูรณาการกับความสิ้นหวัง (ในช่วง 60 ปี) ขึ้นไปเป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวันสุดท้ายถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่างๆมาด้วยดีก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จมีปรัชญาชีวิตตนเองภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆให้แก่ลูกหลานแต่ถ้าตรงกันข้ามชีวิตมีแต่ความล้มเหลวก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิตเสียดายเวลาที่ผ่านมา
เมื่อนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาของของเด็กปฐมวัยเรียบร้อยแล้วก็ได้นำเสนอชัดความต้องการของเด็กปฐมวัยจนครบทุกกลุ่ม
ความรู้ที่ได้รับ : ทฤษฎีของอิริคสันเป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชราอิริคสัน เชื่อว่าไปแลกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้นและไวต่อต่อมาก็สร้างจากรากฐานนั้นถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและอบอุ่นก็จะทำให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่น
** หมายเหตุ : เนื่องจากวันที่ 13 - 16 กุมภาพันธ์ ไปฝึกภาคสนาม ที่เขาชนไก่ จังหมดกาญจนบุรี ทำให้ไม่ได้เข้าเรียน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น