วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 10

20 มีนาคม 2561

         

          วันนี้เป็นสับดาห์ที่ 10 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้พวกเราได้เรียนเกี่ยวกับ แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้เด็กปฐมวัย



แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้



          สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคลได้แก่ร่างกาย
2. สิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ สังคม สิ่งของ

          ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
1. ประสบการณ์ ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2. ประสบการณ์ที่ได้รับจากการสร้างสัมพันธ์ภายในครอบครัว เช่น การแสดงออกถึงความเป็นพี่ เป็นน้อง
3. ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการสร้างความสัมพันธ์ภายในสังคม เช่น บทบาททางสังคม
4. ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่เด็ก เช่น ความรุนแรงภายในครอบครัว อุบัติเหตุ


          สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัยซึ่งจัดเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
1. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย เช่นมลภาวะ อาหาร
2. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม เช่น รถติด ชุมชนแออัด การติดต่อสื่อสาร
3. สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสติปัญญา เช่น การศึกษาผ่านโทรศัพท์มือถือ


          การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน เป็นการจัดวัสดุอุปกรณ์และวิธีการที่มีลักษณะและคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการทำกิจกรรมภายในอาคารและภายในห้องเรียน
2. การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียน ครูผู้สอนจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดี


การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมในเด็กปฐมวัย


                 

          จริยธรรม คือ หลักเกณฑ์แห่งการปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะ ที่ควร เป็นหลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติที่เป็นและการพัฒนาคนให้มีจริยธรรมต้องใช้ระยะเวลาโดยเริ่มตั้งแต่วัยต้นของชีวิต


๏ ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์  ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัยจะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเองโดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง
ขั้นตอนที่ 2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว


๏ ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
          พฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่พฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคมผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายสถานการณ์เดิม
          ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลของพฤติกรรม นั้นว่าการเสริมแรงทางบวก
          แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่าการลงโทษ


๏ ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่ 2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่ 3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่ 4 กระบวนการจูงใจ


           8 คุณธรรมพื้นฐาน
1. ขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
2. ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สิน
3. ซื่อสัตย์ คือประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ
4. มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ
5. สุภาพ คือ อ่อนโยน ละมุนละม่อม
6. สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม
7. สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกันความปรองดองกัน
8. มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจง่าย ยกตัวอย่างได้อยากเห็นภาพชัดเจน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนมาก

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี 

วันจันทร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 9

13 มีนาคม 2561 


          วันนี้เป็นสัปดาห์ที่อาจารย์นัดสอบกลางภาคนอกตาราง โดยการสอบจะเริ่มตั้งแต่ 12.00 น. ถึง 14.00 น. ก่อนถึงเวลาสอบนั้น เพื่อนๆทุกคนดูตื่นเต้นมาก บางคนก็หาที่อ่านหนังสือทบทวนเงียบๆคนเดียว บางคนก็จับกลุ่มติวกับเพื่อน เมื่อถึงเวลาสอบ เพื่อนก็เข้าที่ของตนเอง และตั้งใจทำข้อสอบเป็นอย่างมาก 



          เมื่อสอบเสร็จแล้ว ก็ได้ทำการส่งสมุดบันทึกกิจกรรม เพื่อให้อาจารย์ตรวจ เมื่อตรวจเรียบร้อยก็แยกย้ายกัน


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก ขนาดสอบแล้สยังทำให้นักศึกษาผ่อนคลายโดยหามีมุกมาเล่น

ประเมินเพื่อน : เพื่อนทุกคนดูตื่นเต้นกับการสอบมาก เพราะเป็นข้อเขียนทั้งหมด 

ประเมินตนเอง : มีความตื่นเต้นมากๆเหมือนกัน แต่ก็ทำเต็มที่แล้ว ทำดีที่สุดแล้ว 

สับดาห์ที่ 8

6 มีนาคม 2561



           วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 8 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับวันหยุดที่ใกล้จะถึง 

ต่อจากนั้นก็ได้ให้ชมคลิปตัวอย่างของการไปสัมภาษณ์ครูและผู้ปกครอง ในหัวข้อเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏบัติงานในครั้งต่อไป เมื่อดูคลิปวีดีโอเสร็จเรียบร้อย กิจกรรมต่อมาก็เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย คืองานเกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทั้ง 4 วิธี ดังนี้


รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 4 วิธี


1.การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย

          การอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตยเป็นการเลี้ยงดูที่ พ่อแม่ ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ความเข้าใจ ใช้เหตุผลกับลูกให้ลูกรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมนอกจากให้ความรักแล้วยังให้ความสำคัญกับลูก โดยถือว่าลูกคือส่วนสำคัญต่อครอบครัวพ่อแม่ต้องให้ในสิ่งที่ลูกต้องการจริงๆ


          การเลี้ยงลูกแบบประชาธิปไตย จะทำให้เด็กเป็นคนเปิดเผย เป็นตัวของตัวเองมีเหตุผล มีความรับผิดชอบ มีอารมณ์ขัน ร่าเริงแจ่มใสมองโลกในแง่ดี เรียนรู้อะไรได้อย่างรวดเร็ว สามารถปรับตัวได้ดี 


2. การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย

          
           การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย เป็นการเลี้ยงดูที่พ่อแม่ ไม่ค่อยสนใจเกี่ยวกับความเป็นอยู่ของลูก ลูกจะเล่นอะไรอย่างไรพ่อแม่ไม่เคยเอาใจใส่ ปล่อยให้ลูกทำอะไรต่างๆตามใจชอบ ไม่ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม 


          การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย จะทำให้เด็กมีลักษณะก้าวร้าว ชอบทะเลาะกับผู้อื่นอยู่บ่อยๆ มีทัศนคติไม่ดีต่อพ่อแม่ ลูกมีอาการเซื่องซึมไม่สามารถปรังตัวได้ง่าย มีความตึงเครียดทางอารมณ์

3. การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก

           การอบรมเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก พ่อแม่มักจะเคี่ยวเข็ญให้ลูกทำตามสิ่งที่พ่อแม่เห็นว่าดีเท่านั้น มักดุด่าว่ากล่าวเมื่อลูกอธิบายหรอแสดงเหตุผลคัดค้าน กำหนดวิธีการดำเนินชิวิตตั้งแต่เกิด 

          การเลี้ยงดูแบบคาดหวังเอากับเด็ก จะทำให้เด็กเป็นคนเจ้าอารมณ์ ปรับตัวกับสังคมภายนอกได้ยาก ไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองไม่กล้าตัดสินใจ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ชอบพึ่งพาผู้ใหญ่ 


4. การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป


           การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมเกินไป พ่อแม่มักจะคอยชี้แนะช่วยเหลือตลอดเวลา ไม่ยอมให้ลูกเล่นกับเพื่อเพราะกลัวลูกถูกรังแก ไม่ยอมให้ลูกได้ช่วยเหลือตนเองเวลาทำงานต่างๆ


    
          การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป จะทำให้เด็กเป็นครที่เอาแต่ใจ ขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คอยพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ พึ่งตนเองไม่ได้ ไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ 

สรุปเรื่องที่เรียน : การอบรมเลี้ยงดูเด็กมีหลายวิธี แต่ละครอบครับก็จะมีวิธีการเลี้ยงดูที่แตกต่างกันออกไป แต่วิธีที่ดีที่สุด คือการมอบความรัก เอาใจใส่ให้ลูก ควรสอนสิ่งที่ดีงามและถูกต้องให้เด็ก เพราะครูที่ดีที่สุดของลูกคือพ่อแม่ 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจดูการนำเสนอมาก และคอยให้คำแนะนำและสอดแทรกความรู้ให

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน ตั้งใจในการนำเสนอ และตั้งใจดูการนำเสนอของเพื่อน

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนดี และตั้งใจดูการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่มอย่างเรียบร้อยดี

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

สัปดาห์ที่ 7

20 กุมภาพันธ์ 2561


          วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 7 สำหรับวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย วันนี้เราเรียนเรื่อง การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตามชื่อวิชาเลยค่ะ 

บทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย 


วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก อาจจัดได้ 4 วิธีดังนี้
     วิธีที่ 1 การอบรมเลี้ยงดูแบบความรักความอบอุ่น แบบประชาธิปไตย
     วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูเด็กแบบคาดหวังเอากับเด็ก
     วิธีที่ 2 การอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย
     วิธีที่ 4 การอบรมเลี้ยงดูแบบรักถนอมมากเกินไป

๏ การดูแลเด็กวัยทารก
      เด็กวัยทารกตั้งแต่คลอดจากครรภ์มารดาไปจนถึง 2 ปีเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานสำคัญต่างๆ ของชีวิตในทุกๆด้านเป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด บิดามารดาผู้เลี้ยงดูจึงควรให้เวลานี้ เพื่อส่งเสริมให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น โดยตอบสนองความต้องการ จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ทารกมีพัฒนาการที่ดี ทั้งทางกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา

๏ การเลี้ยงทารกด้วยนมแม่
          นมแม่ เป็นนมที่เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงดูเด็กทารก ในระยะแรกของชีวิตเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างภูมิต้านทานโรค ดังเหตุผลต่างๆต่อไปนี้

     1. คุณค่าทางโภชนาการของนมแม่ นมแม่แบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1.1. น้ำนมเหลือง เป็นน้ำนมที่ออกมาในระยะ 2 ถึง 4 วันแรกจะหลั่งภายใน 12 ถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอด
1.2. น้ำนมแม่ หลังคลอด 2 ถึง 4 วัน

     2. ลักษณะที่ดีของนมแม่
นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน สะดวกไม่ต้องเสียเวลาชง นมแม่สะอาดและปลอดภัยมีสารป้องกัน การติดเชื้อลดอัตราการเกิดโรคภูมิแพ้ นมแม่ไม่ทำให้ลูกอ้วนมีผลดีต่อจิตใจ มีผลดีต่อแม่ทำให้มดลูกไม่เข้าอู่เร็ว

     3. หลักการให้นมทารกด้วยนมแม่
3.1. การเตรียมตัวของแม่ก่อนคลอด ควรมีการออกกำลังและ เตรียมใจไว้ ด้วยการเตรียมหัวนม ควรจะเริ่มทำในระยะกลางกลางของการตั้งครรภ์
3.2. การให้นมลูกอ่านให้ทุก 3-4 ชั่วโมงหรือตามความต้องการของลูกก็ได้

     4. การให้นมผสม
4.1. ชนิดของนมผสม
     - นมผงคล้ายนมมารดา
     - นมผมครบส่วน
     - นมข้นจืด
     - นมสำหรับเด็กแพ้นมวัว
4.2. วิธีให้นมผสมหรือนมขวด ไม่ควรใช้ผ้าหรือหมอนรองหนุนขวดให้ทารกนอนดูดได้และไม่ควรให้ทารกนอนดูดนม จนหลับไป โดยยังอมหัวนมอยู่
4.3. การชงนม สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือความสะอาด นมที่แน่ใจว่าสะอาด คือนมที่ชงกินมื้อต่อมื้อ
4.4. การทำความสะอาดขวดนมและหัวนม สามารถทำได้โดยการนำขวดนมทั้งชุดไปต้ม

๏ ข้อแนะนำในการให้อาหารเสริมทารก
     1. ไม่ควรให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ก่อนอายุ 4 เดือน
     2. เมื่อเด็กอายุได้ 4 เดือนเต็มจะเริ่มให้อาหารอื่นได้
     3. การให้อาหารใหม่แต่ละชนิดควรเว้นระยะห่าง นาน 1-2 สัปดาห์
     4. ถ้าเด็กปฏิเสธอาหารในครั้งแรกๆ อย่าพยายามยัดเยียดหรือบังคับให้กิน
     5. อย่าปรุงอาหารรสจัดให้แก่เด็ก
     6. ไม่ควรให้น้ำหวานแก่เด็ก
     7. ก่อนมื้ออาหารประมาณ 2 ชั่วโมงไม่ควรให้เด็กกินขนมหรือกินเล่น
     8. การเตรียมอาหารสำหรับเด็กต้องระวังในเรื่องความสะอาด
     9. ถ้าทารกท้องผูกการให้อาหารเสริมจะช่วยได้มากช่วยได้มาก
     10. ให้อาหารที่ทำสุกใหม่ๆแก่ทารก
     11. การให้เด็กกินอาหารนั้นควรให้กินก่อนการดื่มนมแม่
     12. ในการเตรียมอาหารเด็กควรให้มีอาหารหลากหลายชนิด

๏ ปัญหาเด็กวัยทารก
     1. ปัญหาจากการร้อง 
     2. ปัญหาเกี่ยวกับการนอน
     3. ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร
     4. ปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง
     5. ปัญหาเกี่ยวกับปากและนัยน์ตา
     6. ปัญหาเกี่ยวกับระบบหายใจ

๏ การอบรมเลี้ยงดูเด็กวัยก่อนเรียน
          เด็กวัยก่อนเรียน หรือเด็กมต้นมีอายุ 2-5 ปี เด็กวัยก่อนเรียนเป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดช่วงหนึ่งของชีวิตเพราะเป็นวัยทองของการวางรากฐานบุคลิกภาพของมนุษย์ ระยะนี้เป็นระยะที่เกิดการเรียนรู้มากที่สุดในชีวิต เป็นช่วงพัฒนาการที่สำคัญที่สุด ที่จะสร้างบุคลิกภาพให้แก่เด็ก เด็กจะเป็นคนอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูในวัยนี้เป็นสำคัญ

๏การสร้างระเบียบวินัย

     1. หลักของระเบียบวินัยมีหลักสำคัญ 4 ประการ
   - เด็กต้องประพฤติในสิ่งที่ดี และขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา
   - เด็กต้องสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจกับการทำดีและไม่พึงพอใจกับการทำที่ไม่ดี
   - เด็กต้องการทำความดีจนกระทั่งเกิดความเคยชินหรือเกิดเป็นนิสัยโดยไม่ต้องมีใครแนะนำ
   - เด็กต้องเรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ไม่ดีไม่พึงปรารถนาเป็นพฤติกรรมที่ดีที่พึงปรารถนาของสังคม

     2. การฝึกวินัย นักจิตวิทยาได้แยกการฝึกวินัยออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆคือ
   - การฝึกวินัยโดยการใช้ความรักเป็นตัวนำ
   - การฝึกวินัยโดยใช้วัตถุเป็นตัวนำ
   - การวางกฎเกณฑ์

     3. การช่วยให้เด็กรู้จักบังคับตนเอง
     4. การปฏิบัติตนของพ่อแม่ในการฝึกนิสัย

๏ การฝึกลักษนะนิสัยที่ดี

     1. การรับประทานอาหาร
1.1. สร้างนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหาร
1.2. ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
1.3. ไม่ควรให้เด็กรับประทานอาหาร รสจัด น้ำอัดลม อาหารที่มีไขมันมากเกินไปอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่มีผงชูรสมาก และอาหารที่เด็กแพ้เฉพาะราย
     
     2. การฝึกการขับถ่าย
       การฝึกนิสัยการขับถ่ายให้แก่เด็กนั้น มีความแตกต่างกันระหว่างเด็กทารกกับเด็กวัยก่อนเรียน การฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป และใช้ความอดทนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการฝึก การฝึก ก่อนเด็กจะมีความพร้อม อาจจะทำให้เด็กมีปัญหาเกิดขึ้น

     3. การฝึกนิสัยการนอน
3.1. จัดสภาพแวดล้อมให้ดีเหมาะกับการนอน ก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมากและปัสสาวะให้เรียบร้อย
3.2. การกำหนดเวลาจะช่วยให้เด็กเคยชินและนอนได้นานๆ ก่อนนอนควรให้เด็กดูภาพสวยงามและเป็นความรู้เล็กน้อยหรือเล่านิทาน

     4. การฝึกนิสัยการอาบน้ำแต่งตัว
4.1. การอาบน้ำ เมื่อถึงเวลาอาบน้ำให้เตือนล่วงหน้า 5 นาที และเตรียมเครื่องใช้ในการอาบน้ำให้พร้อมคนสอนให้เด็กถูกตัวเองในที่ถูกถึง ให้เด็กเห็นว่าการอาบน้ำเป็นเรื่องสนุก
4.2.  การแต่งตัว ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กแต่งตัวเอง เพื่อให้เด็กฝึกการปฏิบัติตนในเรื่องการแต่งตัว ชมเชยเมื่อเด็กได้ทำถูกต้อง

๏ ปัญหาของเด็กก่อนวัยเรียน
     1. ปัญหาด้านสุขภาพกายสุขภาพจิต
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือแม่ไม่นิยมเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พ่อแม่เลี้ยงดูเด็กอย่างทารุณขาดคุณธรรมและจริยธรรม
     2. ปัญหาด้านโภชนาการ
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ ขาดความรู้ด้านโภชนาการ นอกจากนี้เกิดจากพ่อแม่ขาดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับอาหาร
     3. ปัญหาด้านสติปัญญาและความสามารถพื้นฐาน
สาเหตุของปัญหา คือ พ่อแม่ขาดความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาของเด็ก
     4. ปัญหาทางด้านสังคม วัฒนธรรม และจริยธรรม
สาเหตุของปัญหาเกี่ยวข้องกับครอบครัว คือ เด็กเป็นบุตรนอกสมรสและเกิดจากการตั้งครรภ์ที่พ่อแม่ไม่พึงปรารถนา พ่อแม่ขาดการศึกษา และขาดความรับผิดชอบครอบครัวแตกแยก

          เมื่ออาจารย์สอนเกี่ยวกับเนื้อหาเรียบร้อยแล้ว อาจารย์ก็ได้ให้ดูคลิปวีดีโอเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย



ความรู้ที่ได้รับ : การอบรมเลี้ยงดูเด็กควรเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์ จนเด็กคลอดออกม ถ้าเราเลี้ยงดูเด็กอย่าง เด็กก็จะเป็นอย่างนั้น

ประเมินอาจารย์ : เวลาที่อาจารย์สอน อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างที่สามารถเข้าใจได้ และหามุกมาให้นักศึกษาคลายเครียด 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆมีความตั้งใจมาก ฟังกันอย่าสงบ 

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และสรุปสิ่งที่ได้เรียนมาได้ 


สัปดาห์ที่ 6

13 กุมภาพันธ์ 2561


          วันนี้เป็นสับดาห์ที่ 6 ของการเรียน ในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งวันนี้มีการนำเสนองาน 2 งาน ด้วยกัน ได้แก่ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและชาร์ตความต้องการของเด็กปฐมวัย โดยทฤษฎีที่ได้รับมอบหมาย คือทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสันโดยมีเนื้อหาดังนี้ 



ทฤษฎีจิตสังคมของอิริคสัน


ประวัติของอิริคสัน
     อิริคสัน เป็นนักจิตวิเคราะห์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาและจัดอยู่ในกลุ่มฟรอยด์รุ่นใหม่ เกิดที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ตประเทศเยอรมันต่อมาได้ย้ายไปอยู่ประเทศอเมริกาในปีคริสตศักราช 1933 และเป็นผู้วิเคราะห์เกี่ยวกับเด็กเป็นคนแรกในนครบอสตันเห็นว่าการจัดทำความเข้าใจพฤติกรรมเด็กจะต้องศึกษาจากการอบรมเลี้ยงดูสภาพสังคมและความเป็นอยู่ของเด็ก ปัญหาที่นำมาวิเคราะห์นั้นจะอธิบายเชื่อมโยงระหว่างจิตวิทยากับสังคมวิทยาในรูปแบบของมนุษย์วิทยาซึ่งมีแนวความคิดว่ามนุษย์ต้องพึ่งสังคมและสังคมต้องพึ่งมนุษย์มนุษย์มีวิวัฒนาการที่สลับซับซ้อนและผ่านขั้นตอนต่างๆของธรรมชาติหลายขั้นตอน
   อิริคสันเป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ การสร้างทฤษฎีในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้ให้ความสำคัญทางสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจว่ามีบทบาทในการพัฒนาบุคลิกภาพความคิดของอิริคสันต่างจากฟรอยด์ หลายประการเป็นต้นว่าเห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่นแต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตคือวัยชราและตอนที่ยังมีชีวิตอยู่บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆทฤษฎีจิตสังคมได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้นตอนคือ

พัฒนาการทาง บุคลิกภาพ 8 ขั้นตอนของอิริคสัน

ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจความไม่ไว้วางใจ (ช่วงแรกเกิดถึง 1 ปี) ถ้าเด็กได้รับความรักใคร่ที่เหมาะสมทำให้เขารู้สึกว่าโลกนี้ปลอดภัยน่าอยู่และไว้วางใจได้แต่ถ้าตรงกันข้ามเด็กก็จะรู้สึกว่าโลกนี้เต็มไปด้วยความอันตราย

ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองกับความแรงใจ (ในช่วง 2-3 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองรู้ว่าตัวเองมีความสําคัญและอยากเอาชนะสิ่งแวดล้อมหรืออำนาจที่มีอยู่ พ่อแม่จึงควรระวังในเรื่องความสมดุลในการเลี้ยงดูให้โอกาสและกำลังใจต่อเด็ก

ขั้นที่ 3 ความริเริ่มกับความรู้สึกผิด (ในช่วง 4 ถึง 5 ปี) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมตลอดถึงการใช้ภาษาจะช่วยให้เด็กเกิดแนวคิดในการวางแผนและการริเริ่มทำกิจกรรมต่างๆก็จะเป็นส่วนส่งเสริมทำให้เขารู้สึกต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าต่อไป

ขั้นที่ 4 ความขยันหมั่นเพียรความรู้สึกต่ำต้อย (ในช่วง 6 ถึง 12 ปี) เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าเรียนและต้องการเป็นที่ยอมรับของผู้อื่นมีพัฒนาการทางด้านความขยันขันแข็งโดยพยายามคิดผลิตสิ่งต่างๆให้เหมือนผู้ใหญ่ด้วยการทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจถ้าเขาได้รับคำชมเชยก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้เกิดกำลังใจมีความมานะพยายามมากขึ้น

ขั้นที่ 5 ความเป็นเอกลักษณ์กับความสับสนในบทบาท (ในช่วง 12 ถึง 17 ปี) เป็นช่วงที่เด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นและเริ่มพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเองว่าตนคือใครถ้าเขาค้นหาตนเองได้เขาจะแสดงบทบาทของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ขั้น 6 ความผูกพันกับการแยกตัว (ในช่วง 18 ถึง 34 ปี) เป็นขั้นของการพัฒนาทางด้านความรักความผูกพันเมื่อบุคคลสามารถค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองได้แล้วก็เกิดความรู้สึกต้องการมีเพื่อนสนิทที่รู้ใจสามารถปรับทุกข์ซึ่งกันและกันได้ตลอดถึงแสดงความยินดีและเสียสละให้แก่กัน


ขั้นที่ 7 การทำประโยชน์ให้สังคมกับการคิดถึงแต่ตนเอง (ในช่วง 35 ถึง 60 ปี) เป็นช่วงของวัยกลางคนซึ่งมีความพร้อมที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมได้เต็มที่ถ้าพัฒนาการแต่ละขั้นตอนที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดีมีการดูแลรับผิดชอบเอาใจใส่ต่อบุตรหลานให้มีความสุขมีการอบรมสั่งสอนบุตรหลานให้เป็นคนดีต่อไปในอนาคต แต่ถ้าต้องการข้างก็จะไม่ประสบความสำเร็จเขาจะเกิดความรู้สึกท้อถอยเบื่อหน่ายกับชีวิตคิดถึงแต่ตนเองไม่รับผิดชอบต่อสังคม

ขั้นที่ 8 บูรณาการกับความสิ้นหวัง (ในช่วง 60 ปี) ขึ้นไปเป็นช่วงของวัยชราซึ่งเป็นวันสุดท้ายถ้าบุคคลผ่านขั้นตอนต่างๆมาด้วยดีก็จะมองอดีตเต็มไปด้วยความสำเร็จมีปรัชญาชีวิตตนเองภูมิใจในการถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆให้แก่ลูกหลานแต่ถ้าตรงกันข้ามชีวิตมีแต่ความล้มเหลวก็จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิตเสียดายเวลาที่ผ่านมา



เมื่อนำเสนอทฤษฎีที่เกี่ยวกับการพัฒนาของของเด็กปฐมวัยเรียบร้อยแล้วก็ได้นำเสนอชัดความต้องการของเด็กปฐมวัยจนครบทุกกลุ่ม


ความรู้ที่ได้รับ : ทฤษฎีของอิริคสันเป็นทฤษฎีที่อธิบายพัฒนาการของชีวิตตั้งแต่วัยทารกจนถึงวัยชราอิริคสัน เชื่อว่าไปแลกของชีวิตเป็นวัยที่เป็นรากฐานเบื้องต้นและไวต่อต่อมาก็สร้างจากรากฐานนั้นถ้าหากในวัยทารกเด็กได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีและอบอุ่นก็จะทำให้เด็กมีความเชื่อถือในผู้อื่น


** หมายเหตุ : เนื่องจากวันที่ 13 - 16 กุมภาพันธ์ ไปฝึกภาคสนาม ที่เขาชนไก่ จังหมดกาญจนบุรี ทำให้ไม่ได้เข้าเรียน

สัปดาห์ที่ 5

6 กุมภาพันธ์ 2561


          สัปดาห์นี้ เป็นสัปดาห์ที่ 5 ของการเรียนในรายวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ซึ่งในสัปดาห์นี้จะมีการนำเสนองาน บทความเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และเรื่องที่ดิฉันได้เลือกมาคือเรื่องวิธีการเลือกของเล่นให้ลูก



บทความเรื่อง วิธีการเลือกของเล่นให้ลูก 


          การเล่นเป็นการเรียนรู้ของเด็กๆ ของเล่นจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็ก คุณพ่อคุณแม่ที่ใส่ใจในเรื่องพัฒนาการของลูกทราบดีว่าการเลือกของเล่นให้ลูกไม่ใช่เรื่องง่าย เราจึงมีเคล็ดลับมาแชร์ค่ะ
     1. ไม่ต้องสนใจว่าของเล่นนั้นเหมาะสำหรับเด็กชายหรือเด็กหญิง เพราะเด็กๆเขายังไม่รู้จักการแบ่งเพศ ดังนั้นเด็กผู้ชายก็สามารถเล่นขายของได้ การได้เล่นที่หลากหลายช่วยให้เด็กได้มีประสบการณ์และมีพัฒนาการด้านการใช้ชีวิตประจำวันได้ดี
     2. เลือกของเล่นที่เติบโตไปพร้อมกับลูก  เช่น บ้านตุ๊กตาจะช่วยฝึกลูกในเรื่องกิน นอนอาบน้ำ เตรียมอะไรเป็นอาหารเย็น เป็นต้น เป็นจินตนาการที่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันทำให้ลูกได้เรียนรู้ศัพท์มากขึ้น ฝึกภาษาและสร้างประสบการณ์
     3. เลือกของเล่นที่ลูกต้องเล่นเองมากกว่าแค่กดปุ่มเพียงปุ่มเดียวแล้วทำได้ทุกอย่าง หาของเล่นที่ลูกต้องเขย่า หยอด วาง หยิบ หมุ่น อ่าน มอง จินตนาการ 
     4. อย่ากังวลมากไปที่จะต้องหาของเล่นประเภท SCLANS (Shape , Color , Letters and Numbers) ให้ลูก การเสริมพัฒนาการด้านภาษาให้ลูกยังมีวิธีอื่นอีก เช่น การเลือกของเล่นประเภทบทบาทสมมุติ เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นเป็นหมอ หรือเล่นขายของ
     5. ไม่จำเป็นต้องมีของเล่นเยอะแยะ เพื่อให้ลูกได้ใช้เวลามากพอและมีสมาธิกับของเล่นชิ้นที่มีอยู่ จะได้มีประสบการณ์และเข้าใจของเล่นชิ้นนั้นๆมากขึ้น
ที่มา : http://www.toy2go.com

ความรู้ที่ได้รับ : การเลือกของเล่นให้เด็ก ต้องดูด้วยว่าเหมือนสมกับเด็กหรือไม่ การเลือกของเล่นของเด็กที่เหมาะสม คือการให้เด็กได้เล่นโดนการได้ทำเอง เพื่อนเป็นการสร้างประสบการณ์ของเด็ก 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความสนใจกับบทความทุกบาทความ และ สนใจนักศึกษาทุกคน เมื่อนักศึกษานำเสนอบทความจบ อาจารย์ก็จะมีเกร็ดความรู้ให้ พร้อมสรุปให้อย่าเข้าใจง่าย

ประเมินเพื่อน : เวลาที่ดิฉันเป็นผู้นำเสนอบทความเพื่อนๆตั้งใจฟังเป็นอย่างมาก และมีการตั้งคำถามเมื่อสงสัยได้สอดคล้องกับบมความ และเพื่อนๆก็นำเสนอบทความของตนเองได้ดี

ประเมินตนเอง : ตอนที่ออกไปนำเสนอ มีความตื่นเต้นมาก แต่ก็สามารถนำเสนอบทความได้ดีกว่าที่คิดไว้ 

สัปดาห์ที่ 4

30 มกราคม 2561


        วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 4 ของการเรียนในรายวิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ก่อนที่จะเข้าบทเรียน อาจารย์ได้ชี้แจงเกี่ยวกับการแบ่งงานกลุ่มเพื่อที่จะไปศึกษาดูงาน หลังจากนั้น อาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อที่จะทำชาร์ตงาน เกี่ยวกับความต้องการของเด็กปฐมวัยและ การตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัยของครูและผู้ปกครอง


ความต้องการของเด็กปฐมวัย

          ความต้องการของเด็กปฐมวัย ทั้ง 4 ด้านคือ 

๏ ความต้องการด้านร่างกาย


           พัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากเนื่องจากเด็กที่มีสุขภาพที่ดีจะมีผลต่อการพัฒนาทางด้านอื่นทั้งทางตรงและทางอ้อมดังนั้นในการตอบสนองความต้องการทางด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย จะต้องครอบคลุมทั้ง 5 ด้าน ดังนี้

     1. ด้านสุขภาพอนามัย ได้แก่ การส่งเสริมด้านโภชนาการ
     2. ด้านสุขนิสัย ได้แก่ กิจกรรมฝึกเด็กและดูแลให้เด็กปฏิบัติจนเป็นกิจนิสัย ด้านการขับถ่าย การดูแลความสะอาดร่างกาย การพักผ่อนและการออกกำลังกาย
     3. ด้านประสาทการรับรู้ - การเคลื่อนไหวได้แก่ กิจกรรมเล่นเกมส์ประสาทสัมผัสต่างๆ เช่น เกมปิดตา เกมกล่องปริศนา
     4. ด้านกล้ามเนื้อใหญ่ ได้แก่ การเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย
     5. ด้านกล้ามเนื้อเล็ก ได้แก่ กิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก เช่น การปั้น การร้อย การตัดกระดาษ วาดภาพระบายสี ลากเส้นต่อจุด โยนรับลูกบอล เป็นต้น

          นอกจากนี้การส่งเสริมและการเตรียมความพร้อมทางร่างกายของเด็กปฐมวัย สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

     1. การให้เด็กได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ คือ อาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ ตามที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
     2. การเล่นของเด็ก การเรียนของเด็ก คือ การเล่น เด็กจะพอใจที่ได้เล่นและช่วยเหลือตัวเอง จึงจำเป็นต้องจัดสถานที่ให้ปลอดภัย มีพื้นที่กว้าง มีอุปกรณ์เครื่องเล่นอย่างเพียงพอ
     3. การขับถ่าย ควรฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองขณะเข้าห้องน้ำ โดยการเตือนให้เข้าห้องน้ำและช่วยจัดการกับตนเองหลังจากเข้าห้องน้ำเสร็จ
     4. การนอนหลับพักผ่อน การพักผ่อนที่เพียงพอ และเหมาะสมจะช่วยทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดี รวมถึงการพักผ่อนระหว่างกิจกรรมด้วย
     5. การรักษาความสะอาดร่างกาย พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กรักษาความสะอาดร่างกาย โดยการรู้จักอาบน้ำการใช้สบู่ การล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร การแปรงฟันบ้วนปากหลังอาหาร
     6. การสร้างภูมิคุ้มกันโรคควรพาไปตรวจสุขภาพ และรับวัคซีนป้องกันโรคต่างๆตามอายุ

ความต้องการด้านอารมณ์ - จิตใจ  





           อารมณ์เป็นความรู้สึกที่ซับซ้อนซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและแสดงออกอย่างชัดเจนทางพฤติกรรมอารมณ์มีทั้งสิ่งที่เป็นความพอใจ และไม่พอใจ อารมณ์มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมต่างๆได้ ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกมาเราก็สามารถบอกถึงอารมณ์ของเด็กที่แสดงออกมาได้

          ลักษณะความต้องการทางด้านอารมณ์ และการตอบสนองอารมณ์ของเด็กสามารถทำได้ดังนี้
     1. อารมณ์ของเด็กจะแสดงออกมาอย่างอิสระและเปิดเผย ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก ไม่ควรสกัดกั้นการแสดงออกทางอารมณ์ของเด็ก เพื่อเด็กจะได้ยอมรับและรับรู้อารมณ์ของตนเอง
     2. เมื่อเด็กมีอารมณ์โกรธผู้ใหญ่จะต้องหาทางให้เด็กมีอารมณ์โกรธน้อยที่สุด เพราะอารมณ์โกรธของเด็กจะเป็นอารมณ์ที่มีความรุนแรงขาดการยับยั้งใจและไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมได้
     3. เด็กต้องการความช่วยเหลือเมื่อเกิดความกลัว ครูไม่ควรจะไปล้อเลียนความกลัวของเด็ก หรือบังคับให้เด็กอยู่กับความกลัว ครูควรยอมรับและเข้าใจอารมณ์กลัวของเด็ก
     4. เด็กต้องการความรักความอบอุ่นจากผู้ใหญ่ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่หรือครู ดังนั้นครูหรือผู้ปกครองเด็กจะต้องให้ความรักความอบอุ่นกับเด็กให้ความยุติธรรมกับเด็ก
     5. เด็กไม่ชอบให้ใครมาขัดใจดังนั้นผู้ใหญ่ไม่ควรขัดใจเด็กเพราะเมื่อขัดใจเด็กแล้ว เด็กจะมีพฤติกรรมก้าวร้าว เมื่อเด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวผู้ใหญ่ไม่ควรไปสนใจมากเพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นการเรียกร้องความสนใจจากผู้ใหญ่

ความต้องการด้านสติปัญญา 



          พัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมากเพราะช่วงเด็กปฐมวัย จะเป็นพื้นฐานด้านสติปัญญาของผู้ใหญ่ในอนาคต พัฒนาการด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัยมีดังนี้
     1. ลักษณะทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 3 ปี เด็กยังไม่เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม การเรียนรู้ควรเริ่มจากสิ่งง่ายๆไม่ซับซ้อนเด็กจะชอบซักถามและมีความอยากรู้อยากเห็น
     2. ลักษณะ ทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 4 ปี เด็กเริ่มพัฒนาความเข้าใจกับสิ่งที่เป็นนามธรรม เริ่มมีการใช้หลักเกณฑ์ และหาเหตุผล เข้าใจตัดสินสิ่งต่างๆ แต่ยังไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงชอบเรียนรู้ภาษาใหม่ๆชอบเล่นคำที่มีเสียงต่างๆเด็กชอบเล่นบทสมมุติมีความสนใจสั้นเริ่มแสดงออกด้านการเล่าเรื่อง ที่เป็นประสบการณ์ของตัวเอง
     3. ลักษณะทางด้านสติปัญญาของเด็กอายุ 5 ปีวัยนี้ มี ความสนใจยังไม่นาน แต่มีลักษณะของการขยายความสนใจในเรื่องต่างๆมากขึ้นมีการใช้ภาษาดีขึ้นผู้เป็นประโยคมีความหมายดีขึ้นมีจินตนาการมีความเพ้อฝันชอบพูดเกินความเป็นจริง

          การตอบสนองความต้องการทางด้านสติปัญญาของเด็กปฐมวัย สามารถทำได้ดังนี้
     1. ฝึกให้เด็กรู้จักสะสมความรู้สร้างความคิดและนำความคิดไปใช้ประโยชน์รวมทั้งการเสริมแรงให้แก่เด็ก
     2. คาดหวังและปฏิบัติต่อเด็กอย่างเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและความสามารถของเด็ก
     3. ส่งเสริมให้เด็กรับรู้สิ่งเร้าอย่าง หลากหลาย ให้เด็กมีประสบการณ์อย่างกว้างขวางโดยกระตุ้นให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหลายวัยหลายระดับ
     4. ปฏิบัติต่อเด็กอย่างเข้าใจธรรมชาติ และระดับความสามารถของเด็ก
     5. ให้โอกาสเด็กสำรวจตรวจค้นแสดงความอยากรู้ทดลองและแสดงความคิดเห็นของตนโดยไม่ถูกสกัดกั้น
     6. ควรมีปฏิสัมพันธ์และพูดคุยกับเด็กบ่อยๆ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษา
     7. ฝึกให้เด็กช่วยเหลือตนเองตัดสินใจด้วยตนเองทำงานด้วยตนเองสนับสนุนให้เด็กทำงานเป็นกลุ่มให้คำแนะนำที่เหมาะสมแก่เด็ก

ความต้องการด้านสังคม



          ความต้องการทางด้านสังคมหมายถึงความต้องการที่จะประพฤติและปฏิบัติตามความหวังของสังคมซึ่งหมายถึงพฤติกรรมแสดงออกเป็นที่ยอมรับของสังคมและรูปแบบของพฤติกรรมตามที่สังคมกำหนด

          ความต้องการทางด้านสังคมของเด็กปฐมวัยมีลักษณะความต้องการทางสังคมเป็นไปในลักษณะของการติดต่อสมาคมกับคนนอกบ้านรู้จักการเล่นกับเพื่อนครูผู้สอนมีโอกาสที่จะตอบสนองความต้องการทางสังคมของเด็กได้ดังนี้
     1. เด็กวัยนี้มีเพื่อน 1 - 2 คน และมักเปลี่ยนเพื่อนเล่นง่าย หรือเด็กบางคนชอบเล่นคนเดียวถ้าสังเกตว่าเด็กต้องการมีเพื่อนผู้ใหญ่จะต้องให้ความช่วยเหลือเด็ก
     2. เด็กชอบเปลี่ยนเพื่อนเล่นบ่อย ในการเปลี่ยนผู้ใหญ่ไม่ควรเข้าไปยุ่งมากเกินไป  เพราะถ้าเข้าไปยุ่งมากจนเกินไปจะเป็นการทำลายพฤติกรรมสร้างสรรค์ของเด็ก
     3. เด็กชอบทะเลาะกันบ่อยแต่ในช่วงเวลาที่สั้นๆ แต่เด็กมักจะลืมง่าย ถ้าเด็กมีปัญหาที่ไม่รุนแรงเกินไป เราควรจะปล่อยให้เด็กได้จัดการกันเอง ถ้าเด็กยังทะเลาะกันรุนแรง ผู้ใหญ่จะต้องแยกเด็กออกจากกันหรือให้เด็กเปลี่ยนเล่นอย่างอื่นแทน
     4. เด็กชอบแสดงออกโดยการเล่นบทบาทสมมุติหรือการเล่นละคร ครูควรสนับสนุนโดยการกระตุ้นให้เด็กได้แสดงออกในเรื่องที่เด็กสนใจ
     5. เด็กจะต้องยอมรับสภาพของการแยกตัวออกจากพ่อแม่ เด็กจะต้องมีความมั่นใจเมื่ออยู่กับบุคคลอื่น ครูหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก จะต้องสร้างบรรยากาศให้มีความรักความอบอุ่นและมีอิสระ อนุญาตให้เด็กทำในสิ่งที่ต้องการ
     6. เด็กวัยนี้ควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบ กฎเกณฑ์ ต่างๆ ถ้าเด็กยังขาดครูผู้สอนจะต้องให้ความช่วยเหลือเด็กและให้เด็กปฏิบัติบ่อยๆ จนกว่าเด็กเกิดความเคยชินและจะต้องให้กำลังใจเด็กอย่างต่อเนื่อง
     7. เด็กควรรู้จากการแบ่งปันเพราะเด็กวัยนี้ต้องการเล่นกับเพื่อนดังนั้นการปฏิบัติตนที่เหมาะสมจะทำให้เด็กมีเพื่อนเล่นด้วย

ความรู้ที่ได้รับ : ได้รู้ถึงความต้องการของเด็กปฐมวัย และวิธีการตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวันที่เหมาะสม 

 ประเมินอาจารย์ : อาจารย์น่ารัก ชอบหามุขมาเล่นกับนักศึกษาทำให้ไม่เครียด 

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียน ให้ความร่วมมือในการเรียนดี

ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียน ฟังอาจารย์สอนอย่างตั้งใจ